วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พ่อท่านคล้าย เกจิดังแห่งวัดสวนขัน


สำหรับรูปเหมือนพ่อท่านคล้ายที่ใด้ปล่อยให้ลูกศิษย์ลูกหาที่ต้องการเช่านั้นเป็นพิมพ์ก้นอุครับ
สำหรับรูปเหมือนพิมพ์ก้นอุนี้ให้เช่าในราคา 5500 บาท

พระครู พิศิษฐ์อรรถการ (คล้าย จนทวณโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสวนขันและวัดพระธาตุน้อย
พ่อท่านคล้าย เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดวันอังคาร เดือน ๔ ปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๗ ที่บ้านโคกทือ ตำบลช้างกลาง กิ่งอำเภอช้างกลาง นครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอินทร์ นางเนี่ยว สีนิล นิสัยเป็นคนมีมานะ ขยันหมั่นเพียร สุภาพเรียบร้อย เมื่ออายุ ๑๕ ปี ประสบอุบัติเหตุในการถางป่าทำไร่ กระดูกปลายเท้าสามนิ้วแตกละเอียด รักษาไม่หาย ด้วยกำลังใจที่เด็ดเดี่ยว ท่านได้ใช้มีดตัดปลายเท้าออกด้วยตัวเอง และใช้ยาพอกจนหายเป็นปกติ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอำเภอฉวาง ต่อเมื่ออายุครอบ ๒๐ ปีจึงได้อุปสมบท ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนทสวณโณ โดยมีพระครูกราย คงคสุวณโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาชย์ แล้วได้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี พ่อท่านคล้ายเริ่มศึกษาเบื้องต้นที่บ้านโดยบิดาเป็นผู้สอน เรียนวิชาคำนวณ และวิชาอักษรโบราณ จนสามารถอ่านออกเขียนชำนาญทั้งหนังสือไทยและหนังสือขอม เมื่อบวชเป็นพระสงฆ์ได้ศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาภาษาบาลี (มูลกัจจายนะ) ณ สำนักวัดหน้าพระบรมธาตุฯ โดยมีพระครูกาแก้ว (ศรี) เป็นอาจารย์ ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐานที่สำนักวัดสามพัน อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีอาจารย์หนูเจ้าอาวาสเป็นผู้สอนท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูพิศิษฐ์อรรถการในปี พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นพิเศษ ในนามสมณศักดิ์เดิม แต่คนทั่วไปเรียกท่านตามชื่อเดิมว่า พ่อท่านคล้าย ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตำบลละอาย อำเภอฉวาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ จนมรณะภาพ แต่เมื่อ พ.ศ ๒๕๐๐ ท่านยังได้เป็นเจ้าอาวาสวัดธาตุน้อยอีกด้วย เนื่องจากมีการสร้างถนนผ่านกลางวัดจันดีหรือวัดทุ่งปอน ทำให้วัดถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ชาวบ้านได้สร้างวัดใหม่ในเนื้อที่ที่แยกออกไป เรียกว่า วัดพระธาตุน้อย และแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาส พ่อท่านคล้ายมรณภาพด้วยโรคหืด เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ..ศ. ๒๕๑๓ รวมอายุได้ ๙๖ ปี เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน จึงได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ในสัตตมวาร หรือพระเจดีย์น้อยวัดพระธาตุน้อยจนถึงปัจจุบันท่านเป็นผู้นำในการสร้างวัดพระเจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการปฏิสังขรณ์บูรณะศาสนสถานเป็นจำนวนมาก เช่น สร้างวัดมะปรางงาม ตำบลละอาย อำเภอฉวาง ใน พ.ศ. ๒๔๙๐ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทายาทอึ่งค่ายท่าย ถวายที่ดินใกล้ตลาดนาบอน จึงสร้างวัดขึ้นเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ว่า วัดพิศิษฐ์อรรถการาม และวัดที่สำคัญที่สุดคือวัดพระธาตุน้อย หรือคนทั่วไปเรียกว่า วัดพ่อท่านคล้าย ท่านได้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ไว้เป็นอนุสรณ์ โดยยึดรูปแบบมาจากวัดพระมหาธาตุ การก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ท่านได้สร้างพระเจดีย์ไว้หลายองค์ ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขัน เจดีย์บ้านควรสวรรค์ ตำบลนาแว อำเภอฉวาง เจดีย์วัดยางค้อม อำเภอพิปูน และที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ เจดีย์วัดสวนขันอำเภอพระแสง และเจดีย์หน้าถ้ำขมิ้น บนภูเขาอำเภอนาสารท่านได้รับการขนานนามว่า "พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์" คนทั่วไปต่างเชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจาของท่านว่าพูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสอารมณ์เยือกเย็นอยู่ตลอดเวลา ท่านมักจะให้พรกับทุกคน "ขอให้เป็นสุขเป็นสุข" ผู้ที่เคารพนับถือท่านต่างพากันกลัวคำตำหนิ เพราะผู้ที่ถูกตำหนิทุกรายล้วนแต่พบความวิบัติ คนส่วนมากจึงหวังที่จะได้รับคำอวยพร เพราะคำเหล่านั้นเป็นการพยากรณ์ที่แม่นยำทั้งในทางดีและทางเสื่อมเสีย คนที่ไปนมัสการหวังที่จะได้วัตถุมงคล บ้างขอน้ำมนต์ ชานหมาก แหวน ผ้ายันต์ เหรียญ รูปหล่อ รูปพิมพ์ ซึ่งพ่อท่านคล้ายก็ได้มีเมตตาให้กับทุกคน ยิ่งชานหมากของท่านหากใครได้รับจากมือท่านเป็นต้องหวงแหนอย่างที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น: